Virtual Event | 27 – 30 Apr 2021
TechTalkThai
TTT Virtual SummitEnterprise Network & Security
ซีรี่ย์งานสัมมนาออนไลน์ของ TechTalkThai โดยครั้งที่ 2 นี้จัดขึ้นภายใต้ธีม ``Enterprise Network & Security`` เพื่ออัปเดตเทรนด์ล่าสุดทางด้าน Network และ Security ในปี 2021 โดยเนื้อหาครอบคลุมทั้งในส่วนของ Data Center & Edge & Multi-cloud Networking, Wired & Wireless Networking, Network & Security Automation, AI Security, OT Security, Security for Cloud Native Apps, SOC & XDR และ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและบริษัท IT ชั้นนำกว่า 20 ท่าน
วัน
ชั่วโมง
นาที
วินาที
Latest Enterprise Network & Security Trends in 4 Days
งานสัมมนา TTT Virtual Summit: Enterprise Network & Security 2021 จัด 4 วันต่อเนื่อง โดยเนื้อหาประกอบด้วย
Enterprise Networking

แนะนำนวัตกรรมด้านเครือข่ายล่าสุดสำหรับ Edge, Data Center และ Multi-cloud รวมไปถึงเทคโนโลยีด้าน Wired & Wireless Networking และการประยุกต์ใช้ AIOps

Cybersecurity

อัปเดตแนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยล่าสุดในปี 2021 หลังยุค COVID-19 ได้แก่ AI Security, OT Security, Security for Cloud Native Apps, SOC และ XDR

Cybersecurity Act.

แชร์การวางกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากประสบการณ์จริงของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (CI) ของประเทศตาม พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ

TTT Virtual Summit: Enterprise Network & Security 2021 จะจัดขึ้นในวันที่ 27 – 30 เมษายน 2021 ในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่เวลา 13:15 – 16:00 น. รวมทั้งสิ้น 20 เซสชัน บรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท IT ชั้นนำระดับโลก ได้แก่ Allied Telesis, Bidefender, Dell Technologies, Fluke Networks, Fortinet, HPE Aruba, Palo Alto Networks, Sophos, Tenable, VMware รวมไปถึงวิทยากรรับเชิญพิเศษจากภาคเอกชน เช่น AIS Business และ TB-CERT ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์และกรณีศึกษาจากการใช้งานจริง เพื่อเป็นตัวอย่างให้ทุกองค์กรนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนได้
Enterprise Network & Security at a Glance

Date

27 – 30 Apr 2021

Time

13:15 – 16:00

Venue

Online Event

Attendees

500+

Enterprise Network & Security Speakers
รวมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากบริษัท IT ชั้นนำและหน่วยงานในประเทศไทย
Act. Enterprise Cyber Security Manager, AIS Business
VP of Business Development, Proen Corp PLC
Chief Technology Officer, Bay Computing
Enterprise Network & Security Schedule
กดเลือกวันที่ต้องการเพื่อดูหัวข้อและเนื้อหาที่จะบรรยาย

วิวัฒนาการของระบบอินเทอร์เน็ตในไทย สถานการณ์ของอินเทอร์เน็ตประเทศไทยในปัจจุบัน การเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นๆ ในแถบเอเชียและทั่วโลก และแนวโน้มการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในอีก 5 ปีต่อจากนี้

ปัจจุบันมีอุปกรณ์เชื่อมต่อใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย ส่งผลให้ระบบเครือข่ายมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสิ่งเหล่านั้น เซสชันนี้ HPE Aruba จะมาแนะนำ Intelligent Edge ที่ช่วยให้การบริหารจัดการเครือข่ายสามารถทำได้อย่างชาญฉลาด รวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้น

ปัจจุบันนี้ ปริมาณของข้อมูลในองค์กรต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนองค์กรเป็นอย่างมาก ทุกคนสามารถใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องมีเทคโนโลยีสำหรับปกป้องข้อมูลเหล่านี้ เพื่อให้องค์กรสามารถการใช้ข้อมูลได้อย่างมั่นใจ สะดวก และรวดเร็ว รวมไปถึงป้องกันการโจมตีได้ในระดับเครือข่าย สามารถเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่กระจายได้ด้วยตัวระบบเอง ซึ่งจะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบได้เป็นอย่างมาก

ในอนาคตไม่ไกลจากนี้ รูปแบบของ Data Center Networking จะมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางระบบหรือการบำรุงรักษา ทำอย่างไรถึงจะสามารถรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นและเตรียมความพร้อมได้ล่วงหน้า เข้าฟังบรรยายเซสชันนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการนำระบบ Automation เข้ามาประยุกต์ใช้ในเครือข่ายของ Data Center

แนะนำแพลตฟอร์ม AIOps ที่ใช้เทคโนโลยี Machine Learning ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนทำงานต่างๆ ของ IT Operations ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงการเฝ้าระวัง (Monitoring), การบริหารจัดการงานบริการ (Service Management) หรือการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation Tasks) บนระบบเครือข่ายให้ดียิ่งขี้น

การเลือกและออกแบบเทคโนโลยีเพื่อการเชื่อมต่อ (Connectivity) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบ IoT ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายเฉพาะ อาทิ Bandwidth, Latency, Power Consumption, Security เป็นต้น ซึ่งเมื่อ 5G และ EDGE Computing เข้ามา จะเกิด Intelligent Connectivity ทำให้การออกแบบการเชื่อมต่อเปลี่ยนแปลงไป ในเซสชันนี้ จะอธิบายถึงคุณสมบัติเครือข่ายทั้ง 5G, 4G, NB-IoT และการออกแบบและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ไปยัง EDGE Computing เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของแอปพลิเคชันที่แตกต่างกัน

เทคโนโลยี Data Center และเครือข่ายกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านความเร็วและแบนด์วิดท์ ซึ่งตอนนี้สามารถรองรับได้สูงสุดถึง 400 Gbps และกำลังเตรียมก้าวไปสู่ระดับ 800 Gbps เร็วๆ นี้

เพื่อรองรับความเร็วดังกล่าว เครือข่ายภายใน Data Center จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน Fiber Obtics ด้วยการใช้งานแบบ Single Mode ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Data Center ขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้สายทองแดงประเภทที่สูงขึ้นเพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลและจ่ายไฟผ่าน PoE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในเซสชันนี้จะมาบรรยายถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ที่จะตอบสนองความต้องการในด้านความเร็วและแบนด์วิดท์ให้กับทุกความต้องการ และการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานที่เกิดขึ้นเพื่อเอื้อต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี รวมถึงมาตรฐาน IEEE 802.3bt ใหม่ และการทดสอบที่จำเป็นเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่นี้

โลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มีความถี่ ความหลากหลาย และผลกระทบมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ การวางแผนเครือข่ายเพื่อช่วยให้องค์กรของคุณตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่คาดคิด จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา

ในยุคของการนำเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจนี้ ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างสาขามีความซับซ้อน และมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากยิ่งขึ้น หลายองค์กรได้นำโซลูชันความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มาใช้งานมากมายเพื่อจัดการกับภัยคุกคามใหม่ๆ แต่กลับยิ่งทวีความซับซ้อน ค่าใช้จ่าย และช่องโหว่อื่นๆ ให้กับองค์กร เข้าร่วมการบรรยายนี้เพื่อเรียนรู้กระบวนการเชื่อมต่อสำนักงานสาขาทั้ง LAN และ WAN ที่ขับเคลื่อนด้วยความมั่นคงปลอดภัยแบบบูรณาการจาก Fortinet

โลกของเทคโนโลยีด้าน Data Center ที่เปลี่ยนไป ทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกในการใช้งาน Multi-Cloud ได้อย่างยืดหยุ่นและย้าย Workload ไปมาได้อย่างอิสระ รวมถึงใช้ความสามารถต่างๆ ของเทคโนโลยีเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยเพื่อรองรับระบบงานได้หลากหลายรูปแบบบนทุกๆ Cloud หรือ Data Center ที่ต้องการ ในเซสชันนี้ VMware จะมานำเสนอ 4 ขั้นตอนในการเปลี่ยนผ่านโลก Data Center แบบเดิมไปสู่ Multi-cloud Data Center รวมไปถึงการทำ Application Migration และ Business Continuity ระหว่างระบบทั้งหมด

สรุปกิจกรรมด้าน Cybersecurity ที่ TB-CERT ได้ดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมาภายใต้สถานการณ์​ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการพัฒนาบุคลากร, งานด้านการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์, งานด้าน API Standard, งานด้านความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และสารจากผู้แทนคณะทำงานความร่วมมือด้านการยกระดับความพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ (CERT Readiness) ต่อภาคการเงิน การลงทุน และการประกันภัย รวมไปถึงบทวิเคราะห์เหตุการณ์โจมตีในปี 2020 และคาดการณ์แนวโน้มภัยไซเบอร์ในปี 2021

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์ปลายทางเป็นด่านหน้าในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาเป็นโซลูชันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Anti-malware, Next-geration Antivirus, Endpoint Protectection Platform และ Endpoint Detection & Response โซลูชันเหล่านี้มีวิวัฒนาการอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม พบกับการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Bitdefender พร้อมแนะนำแนวทางปฏิบัติในการรับมือกับภัยคุกคามในยุคหลัง COVID-19 ที่ Work from Home กลายเป็นการทำงานแบบ New Normal

ทุกวันนี้หลายองค์กรต้องเผชิญกับปัญหาด้านภัยคุกคามจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Phishing, Ransomware หรือแม้แต่ Zero-day Attacks ทำให้ IT และผู้ดูแลระบบต้องมุ่งเน้นไปที่การตรวจจับ ป้องกัน และตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคามเพื่อให้ระบบหรือธุรกิจขององค์กรสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ด้วยการเพิ่มจำนวนที่มากขึ้นของมัลแวร์ และวิธีการโจมตีแบบใหม่ๆ ทำให้หลายองค์กรยังไม่สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเทคโนโลยีการป้องกันแบบเดิมๆ ยังไม่สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที เทคโนโลยี AI จึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่เข้ามาตอบโจทย์การรับมือภัยคุกคามแบบใหม่ เข้าร่วมฟังบรรยายนี้เพื่อเรียนรู้การสร้างระบบการเฝ้าระวังให้แข็งแกร่งและพร้อมรับมอืกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

แนะนำวิธีเริ่มต้นใช้ Container อย่างมั่นคงปลอดภัย พร้อมรองรับการประมวลผลในรูปแบบคลาวด์ (Cloud Computing Model) อาทิ การรองรับความยืดหยุ่นตาม Workload ของงาน ช่วยให้เหล่านักพัฒนาและโปรแกรมเมอร์สามารถส่งมอบ Cloud-native Apps ได้อย่างมั่นใจ ตอบโจทย์การทำงานบนระบบคลาวด์ในยุค Digital Transformation

ปัจจุบันนวัตกรรมดิจิทัลจำเป็นต้องให้ระบบ OT เช่น ICS และ SCADA มาเชื่อมต่อกับระบบ IT เช่น ระบบประมวลผล ระบบเก็บข้อมูล และระบบบริหารจัดการ จากการสำรวจพบว่า 74% ของผู้เชี่ยวชาญด้าน OT ประสบปัญหาการถูกโจมตีและละเมิดข้อมูลในทางอุตสาหกรรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เข้าร่วมการบรรยายนี้เพื่อรับฟังแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่จะช่วยให้ครอบคลุมยุค IT-OT Convergence ได้อย่างครอบคลุม จากส่วนหลักไปจนถึง Edge OT

แชร์การวางกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากประสบการณ์จริงของ AIS หนึ่งในหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (CI) ของประเทศตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

สรุปภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในปี 2020 ในมุมมองทั้งจากช่องโหว่ที่ถูกใช้งาน การโจมตีที่เกิดขึ้น และเหตุการณ์การโจมตีที่สำคัญ รวมถึงแนวคิดในการป้องกันภัยคุกคามสำหรับปี 2021

ภัยคุกคามในปัจจุบันนับวันยิ่งทวีความซับซ้อนและรวดเร็ว การตอบสนองภัยคุกคามจึงสร้างแรงกดดันและความยากลำบาก การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์อย่างทันท่วงทีและรวดเร็วจึงเป็นทางออกของปัญหา ซึ่งการใช้ระบบ Automation ในปัจจุบันสามารถให้ผลลัพธ์ที่วัดผลได้และมีประสิทธิภาพ ในเซสชันนี้จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้งานจริงของ Security Automation

ปัจจุบันบริการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีให้เลือกอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น EDR, MDR, MTR หรือ XDR ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์อย่างมหาศาลกับองค์กร เข้าฟังบรรยายเซสชันนี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริการเหล่านั้น ความเหมือนและความแตกต่าง ก่อนที่จะเลือกสิ่งที่ใช่ให้กับองค์กร

ในโลกดิจิทัลทุกวันนี้ การโจมตีทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อันมาจากความหลากหลายของโซลูชันในภาคธุรกิจ ซึ่งมีผลให้การดำเนินการจัดการและแก้ไขต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า 53% ขององค์กรมีปัญหาในด้านการขาดแคลนบุคลากร และทักษะด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เข้าฟังบรรยายในเซสชันนี้เพื่อเรียนรู้วิธีใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม การตรวจจับ และการตอบสนองในระบบ SOC

* กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และจะมีการอัปเดตรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องจากเหล่าวิทยากรหลังจากนี้

Lucky Draw
ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานเพื่อลุ้นรับ Macbook Air (M1), iPhone 12, AirPods Max และ Mi Watch Lite รวม 12 รางวัล มูลค่ากว่า 100,000 บาท จับรางวัลใหญ่ทุกวัน !!

เงื่อนไขการลุ้นรับรางวัล Lucky Draw

  • Lucky Draw ประกอบด้วยรางวัลใหญ่ 4 รางวัล ได้แก่ Macbook Air (M1), iPhone 12 และ AirPods Max 2 เครื่อง และรางวัลรอง คือ Mi Watch Lite 8 เครื่อง
  • แต่ละวันจะจับ Lucky Draw 3 รางวัล ประกอบด้วยรางวัลใหญ่ 1 รางวัลและรางวัลรอง 2 รางวัล
  • ผู้ที่เข้าร่วมงานสัมมนาตั้งแต่เริ่มจนจบในแต่ละวันมีสิทธิ์ลุ้นรับ Lucky Draw ในวันนั้นๆ
  • ผู้ที่ได้รับรางวัล Lucky Draw ไปแล้ว ยังมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัล Lucky Draw อื่นในวันถัดๆ ไป ยิ่งเข้าร่วมมาก ยิ่งมีสิทธิ์ลุ้นมาก
  • แจ้งผลผู้โชคดีในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2021 ผ่านทางอีเมลและโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้

หมายเหตุ ผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลจำเป็นต้องยินยอมเปิดเผยชื่อนามสกุล และบริษัทที่ตนเองสังกัดบนสื่อต่างๆ ของ TechTalkThai เพื่อความโปร่งใสในการแจกรางวัล ในกรณีที่ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล ทีมงานขอสงวนสิทธิ์เลือกผู้โชคดีท่านใหม่แทน

Enterprise Network & Security Sponsors