TechTalkThai 2020: AI & Automation in Action

TechTalkThai 2020: AI & Automation in Action

อัปเดตเทคโนโลยี AI ในปัจจุบัน, ทิศทาง AI ของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก, แนวทางการนำ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ, ตัวอย่างการนำ AI มาใช้งานจริง ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ AI มาขับเคลื่อนโครงการสำคัญของภาครัฐ

กุมหัวใจของลูกค้าให้อยู่หมัด ด้วยระบบที่สามารถให้ข้อมูลกับลูกค้าได้ทุกเวลาที่ลูกค้าต้องการ ตามเวลาที่ลูกค้าสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาคอยตอบแชต เพิ่มปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยระบบ Chatbot ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามรายละเอียดสินค้าหรือแจ้งปัญหาการใช้งาน สามารถตอบกลับทั้งทาง LINE หรือ Facebook ได้อย่างทันที

พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบูธ

หลายๆองค์กรทั่วโลกได้เริ่มนำเทคโนโลยีของ Robotic Process Automation (RPA) เข้ามาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาที่องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงในยุคของ Digital Transformation หลายๆ องค์กรในประเทศไทย รวมทั้ง NTT ทั้งในประเทศไทยและระดับภูมิภาค ได้นำ RPA มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายการเงิน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงาน พร้อมกับมีความรวดเร็วในการประมวลผลของข้อมูลมากยิ่งขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ RPA ยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตาม Use Cases ต่างๆ ตามความต้องการของธุรกิจ และพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ทำไมต้องใช้แพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะ?

อันดับแรกเราเห็นคุณค่าในการสานต่อแนวคิดของ Artificial Intelligence, Internet Of Things และ Big Data โดยอาศัยความเชี่ยวชาญที่จะผสานแนวคิดเชิงธุรกิจเข้ากับเทคโนโลยี และพร้อมเปลี่ยนแปลงและปรับรูปแบบโซลูชันให้ตอบสนองความต้องการเชิงธุรกิจของลูกค้า กล่าวคือ ไม่ใช่แค่เพียงแต่ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยหรือรวดเร็ว แต่สามารถเพิ่มยอดขายหรือลดต้นทุนทางด้านสินค้าได้ และสร้างวิสัยทัศน์เชิงรุกในการตลาดรูปแบบใหม่ได้

อย่างไรก็ตาม เราตระหนักดีว่าข้อความที่สื่อสารออกไปถึงลูกค้ามักมุ่งเน้นไปที่ ข้อมูล จริงๆ ไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูล แต่เป็นการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วตอบโจทย์ความท้าทายในยุค Disrupted Digital Technology ให้กับ IT ขององค์กร ที่จะช่วยสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพ รวมถึงการสร้างกลยุทธ์เชิงธุรกิจให้ตามทันในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ทาง HPE เราจะใช้แนวคิดแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราววิธีการและการผสานแนวคิดที่ HPE สามารถช่วยเหลือลูกค้าในการจัดการข้อมูลที่ท้าทายและเริ่มต้นด้วยแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะ

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ส่งผลโดยตรงต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศขององค์กร ในเซสชันการบรรยายนี้ Yip In Tsoi ร่วมกับ VMware Thailand จะมาพูดถึงการนำเทคโนโลยีด้าน Security & Endpoint Automation เข้ามาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพื่อติดตามและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว

พักรับประทานอาหารกลางวันและเยี่ยมชมบูธ

ปัจจุบันการติดตามและเฝ้าระวังระบบ IT ในองค์กรคงไม่ได้มีแค่การบริหารจัดการด้านโครงสร้างหรือจัดการกับปัญหาของตัวอุปกรณ์อีกต่อไป การริเริ่มโครงการเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ผู้แลระบบต้องเริ่มลดภาระต่างๆ ในการติดตามและเฝ้าระวังลง การทำงานอย่างอัตโนมัติและผสานการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มาดูกันว่าเทคโนโลยี Automation และ Integration จะช่วยขับเคลื่อนการติดตามและเฝ้าระวังระบบของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดภาระของผู้ดูแลระบบลงได้อย่างไร

ทุกท่านได้ยินและรับทราบประโยชน์ของ RPA มากันบ้างแล้ว วันนี้ทางเราจะทำให้ RPA ขยายความสามารถในการตัดสินใจจากกฎง่ายๆ (Rule-based) ไปเป็นการตัดสินใจแบบใช้องค์ความรู้ (Cognitive) แทน โดยเราสามารถสอนเพื่อนร่วมงานดิจิทัลนี้ให้ทำงานที่มีมูลค่าสูงและซับซ้อนได้ เพื่อทดแทนแรงงานดิจิทัลที่ขาดแคลนกันอยู่ในสภาวะปัจจุบัน และส่งเสริมการเติบโตขององค์กรในยุค Digital Economy

คุณจะจำแนกทองออกจากทรายที่มีขนาดเท่าภูเขาได้อย่างไร?

ข้อมูลของบริษัทเป็นอาวุธที่มีค่าที่สุดและมีปริมาณมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันทีมงานด้านการเงินใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่น้อยมาก อีกทั้งมีเพียงแค่ข้อมูลบางส่วนเท่านั้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์และวิเคราะห์เพื่อนำมาวางแผนธุรกิจได้ นั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมบริษัทถึงจำเป็นต้องมี AI เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน

พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบูธ

การทำงานกับเอกสารเป็นสิ่งที่ทุกออฟฟิศล้วนต้องเจอ โดยมักจะเป็นงานที่จำเจและเสียเวลา ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอย่างการแปลงภาพให้กลายเป็นข้อความ (OCR) และการประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP) เพื่อทำความเข้าใจบริบทของเอกสาร ซึ่งช่วยให้การทำงานกับเอกสารปริมาณมากๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติ

Chatbot, NLP, Face Recognition, Self-driving Car ต่างเป็นเทคโนโลยี AI ที่หลายอุตสาหกรรมต่างเริ่มนำมาใช้งาน แต่นอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้ ยังมีอีกหลายแนวคิด หลายความต้องการ ที่สามารถนำ AI เข้ามาแก้ปัญหาได้ เซสชันนี้จะเปิดเผยถึงงานวิจัยและนวัตกรรมด้าน AI ในอนาคตที่น่าจับตามอง ซึ่งอาจเข้ามาตอบโจทย์ทั้งภาคธุรกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้านี้

ในปัจจุบัน Machine Learning และ Artificial Intelligence ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการนำมาช่วยเหลือเกี่ยวกับการวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจให้กับอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย รวมถึงอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่บน Cloud โดยใช้อัลกอริทึม Machine Learning (ML), Deep learning (DL) และ Reinforcement Learning (RL) การสัมมนาในหัวข้อนี้จะครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับ Machine Learning แนวโน้มอุตสาหกรรม รวมถึงกรณีศึกษาที่ Cisco นำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้งาน

พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบูธ

อัปเดตการผสานแนวคิดด้าน AI เข้าสู่ CPU และ GPU รวมไปถึงการเพิ่มผลิตภาพในการทำงานด้วยเทคโลโลยีล่าสุดจาก AMD

ในปัจจุบันมีอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่อาศัยระบบเครือข่ายเป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับยุค IoT ในการที่จะจำแนกอุปกรณ์ทุกชนิดโดยอาศัยเพียง Signature แบบดั้งเดิม แต่ด้วยการอาศัยองค์ความรู้ขนาดใหญ่จาก Cloud พร้อมระบบ Machine Learning มาช่วยทำการวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมระหว่างที่อุปกรณ์กำลังทำงาน ทำให้สามารถจำแนกอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายการเข้าใช้งานเครือข่ายได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละชนิดอุปกรณ์และมีความปลอดภัย

ในยุค Digital Transformation ที่เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Big Data, Internet of Things หรือ Artificial Intelligence (AI)/Machine Learning (ML) นั้นต้องอาศัยข้อมูลเป็นองค์ประกอบหลักทั้งสิ้น แต่ในการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นขององค์กรในมิติต่างๆ และการนำมาใช้นั้น ยังคงเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะทีมงานด้าน IT ที่จะช่วยสนับสนุน และเพิ่มศักยภาพด้วยเทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมระบบที่เหมาะสม ควรจะต้องพิจารณาและมีแนวความคิดอย่างไร ซึ่งจะทำให้ IT เป็น Key Enabler ในการช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจโดยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ และพลิกโฉมธุรกิจโดยใช้ข้อมูล หรือการเป็น Data-Driven Organization นั่นเอง ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ Data หรือข้อมูลที่มีจะเปลี่ยนไปเป็น Data Capital ซึ่งจะเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด (Most Valuable Asset) สำหรับโลกของธุรกิจในปัจจุบัน และอนาคต

พักรับประทานอาหารกลางวันและเยี่ยมชมบูธ

เนื้อหากล่าวถึงแนวโน้มการโจมตีเพื่อทำลาย Service Availability หรือ DDoS ในยุค Digital Transformation รวมถึงแนวคิดการใช้แพลตฟอร์มเครื่องมือร่วมที่ผสานเทคโนโลยี AI & Automation เพื่อการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์และช่วยลดการลงทุนทางด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยโดยรวมสำหรับองค์กร

หัวใจหลักที่ทำให้การทำงาน การผลิต และการสื่อสารในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นคือระบบเครือข่าย ทว่าปัจจุบันผู้ดูแลระบบกลับต้องให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันที่สร้างรายได้ให้องค์กรมากกว่า ระบบเครือข่ายที่ง่าย การจัดการหลายๆ อย่างทำได้อย่างอัตโนมัติ จะทำให้งานของผู้ดูแลระบบลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆ ที่องค์กรต้องการได้เป็นอย่างดี

พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบูธ

ตั้งแต่ Autonomous eCommerce ไปจนถึง Decentralized Finance และ Algorithmic Regulation เทคโนโลยี Blockchain ได้เข้ามาปฏิรูปกระบวนการและเทคโนโลยีพื้นฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจดิจิทัลหลากหลายรูปแบบ เซสชันบรรยายนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพการนำเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract ไปใช้งานจริงในธุรกิจดิจิทัลที่ Automation เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ รวมไปถึงการวางกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว

ในยุคของโลกดิจิทัลที่มาพร้อมกับความทันสมัยและความสะดวกสบายทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่หลากหลายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันภัยไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนและรุนแรงได้สร้างความเสียหายและทำลายความมั่นใจในการใช้งานบริการเหล่านั้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคธุรกิจซึ่งพยายามนำเอาเทคโนโลยีมาเพื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล เช่น สูญเสียความเชื่อมั่นและไว้ใจต่อภาคธุรกิจนั้นๆ เมื่อข้อมูลสำคัญและ Sensitive รั่วไหล ในขณะที่ธุรกิจยังคงต้องดำเนินต่อไป เทคโนโลยีมีการพัฒนาก้าวไกลมาก ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ตัวอย่างเช่น AI ที่เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของมนุษย์เราอย่างไร เราจะต้องสร้างความเชื่อมั่นอย่างไรในสภาพการณ์เช่นนี้

ในปัจจุบันภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคนิคที่ก้าวหน้าและวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการโจมตีอยู่เสมอ ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องการเครื่องมือที่มีความชาญฉลาด สามารถป้องกันภัยคุกคามดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที การใช้ AI และ ML ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการป้องกันภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์แบบใหม่และก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถทำงานแบบเรียลไทม์ได้ Fortinet จะทำการบรรยายในเรื่อง AI และ ML พร้อมกับยกตัวอย่างการนำ AI และ ML ไปใช้ในการป้องกันภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ในด้านต่างๆ

พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบููธ

หัวข้อนี้จะกล่าวถึงว่า ทำอย่างไรเราจึงจะตามล่าหาภัยคุกคามในระบบของเราแบบใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพในขณะที่มีทรัพยากรจำกัด รวมทั้งกระบวนการแปลงความรู้ไปเป็นระบบอัตโนมัติเพื่อตามล่าหาภัยคุกคามแทนการใช้กำลังคน

เทคโนโลยี Container และ Serverless กำลังเป็นที่จับตามองในโลกของ DevOps เทคโนโลยีเหล่านี้คืออะไรและทำไมจึงสำคัญ ในขณะเดียวกันการมีระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ดีคือกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ระบบและข้อมูลของคุณปลอดภัยจากภัยร้ายยุคใหม่จนเกิดเป็น DevSecOps ขึ้น

แสดงเรื่องราวตัวอย่างจริงของวิธีที่ผู้ใช้งานในหลายองค์กรได้มีการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยทำงานในกิจกรรมซ้ำๆ และปรับปรุงการดำเนินงานให้ได้ประสิทธิภาพที่ถูกต้องและรวดเร็ว

เราจะนำเสนอคุณสมบัติการจัดการความมั่นคงปลอดภัยแบบอัตโนมัติใหม่และแสดงให้เห็นว่าในหลายๆ องค์กรสามารถยกระดับประสิทธิภาพและปริมาณงานให้สูงขึ้นไปอีกระดับได้อย่างไร

พักรับประทานอาหารกลางวันและเยี่ยมชมบูธ

ในปัจจุบันโลกอินเทอร์เน็ตมี API Traffic จำนวนมากซึ่ง API ก่อให้เกิดระบบ Automation Service จำนวนมากเพราะ API นั้นสามารถทำงานได้รวดเร็ว ความผิดพลาดน้อย และต้นทุนต่ำ ผลลัพธ์คือการเกิดบริการใหม่ๆ ขึ้นมาในโลกอย่างมากมาย เช่น การทำธุรกรรมระหว่างธนาคาร, Shopping online, บริการจองรถรับส่งหรือการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application แต่สิ่งหนึ่งที่ท้าทายการทำงานของ API ก็คือ Security, Reliability & Performance เพื่อลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน

การจัดการกับช่องโหว่ของระบบในองค์กรเป็นภาระที่สำคัญของผู้ดูแลระบบ แต่ที่ผ่านมา มักจะเจอกับปัญหาที่มีรายงานช่องโหว่ และการแก้ไขมากจนไม่สามารถจัดการได้อย่างทันเวลา เทคโนโลยีทั้ง Big Data และ AI สามารถช่วยในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ หรือปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นจะต้องได้รับการป้องกันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถลดความเสี่ยงจากการโจมตีไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที หัวข้อนี้จะอธิบายแนวคิด และตัวอย่างจาก Tenable ที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้

การเสวนากลุ่มย่อยนี้จะพูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์และนำเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรในยุคที่ทุกคนต่างเดินหน้าทำ Cloud Transformation ในมุมมองต่างๆ จากทั้งผู้ให้บริการ Public Cloud, Enterprise Cloud และ Local Cloud ชั้นนำของไทย รวมไปถึงข้อคิดการวางระบบ Internet of Things ขนาดใหญ่อย่างมั่นคงปลอดภัย

พักรับประทานอาหารว่างและเยี่ยมชมบูธ

การนำเทคโนโลยี SOAR (Security Orchestration Automation and Response) มาใช้งานเพื่อรองรับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ให้มีประสิทธิภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้าง ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น การเข้าใจระบบการแจ้งเตือน ขบวนการขั้นตอนในการนำข้อมูลเข้าระบบ, การนำข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง แม่นยำ ไม่ให้เกิด False Positive และ การสร้าง API เพื่อควมคุมอุปกรณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยปลายทางโดยอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดการบูรณาการระบบทั้งหมดเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบอัตโนมัติ

Event Details
  • Start Date
    3 March 2020 8:00 AM
  • End Date
    3 March 2020 5:00 PM
  • Status
    Expired
  • Attendees
    43 Attendees